คำศัทพ์


๑.กบิลพัสดุ์              : ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าสักกะหรือศากกะ
๒.กะเพราแดง          : เป็นชื่อต้นไม้ล้มลุก  มีกลิ่นฉุน  ใช้ปรุงอาหาร  พันธุ์ที่กิ่งและก้านใบสีเขียวอมแดงเรียกกะเพราแดงใช้ทำยาได้
๓.กำเลาะ                  : หนุ่ม  สาว
๔.คันธกุฎี                 : พระกุฎีที่ประทับของพระพุทธเจ้า
๕.คาถาพัน                : เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกบทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก
๖.จัมมาภรณ์              : เครื่องประดับ  หรือในที่นี้คือ  เสื้อผ้า  ที่ทำจากหนังสัตว์
๗. จุณณียบท             : บทบาลีเล็กน้อย  ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ
๘.จุติ                         : เคลื่อน(จากภพหนึ่ง  ไปสู่ภพอื่น) , ตาย(ในภาษาบาลีใช้ได้ทั่วไป  แต่ในภาษาไทยส่วนมากใช้แก่เทวดา)  ในภาษาไทย  บางที่เข้าใจและใช้กันผิดไปไกล  ถึงกับเพี้ยนแปลเป็นเกิดก็มี
๙.ฉัพพรรณรังสิโยภาส หรือ ฉัพพรรณรังสี  : รัศมี    ประการ  ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า
๑๐.เฉนียน                 : ฝั่งน้ำ  มาจากภาษาเขมร เฉฺนร  ซึ่งแปลว่า  ชายฝั่ง
๑๑.ชฎิล                    : นักบวชประเภทหนึ่ง  เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น  มักถือลัทธิบูชาไฟ  บางตรั้งจัดเข้าพวกฤๅษี
๑๒.ชะมด                 : ในความที่ว่า  ราเชนชะมดหมู่กระวานว่านวิเศษ  หมายถึง  ชื่อมะกรูดพันธุ์หนึ่ง
๑๓.ดาวดึงส์              : ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น
๑๔.ดุณียภาพ            : อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ
๑๕.ทลิกร                 : ยากจน  เข็ญใจ
๑๖.ทศพร                 : พร ๑๐  ประการที่พระผุสดีทูลขอท้าวสักกะ  เมื่อจะจุติจากเทวโลกมาอุบัติในโลกมนุษยโลก
๑๗.ทศพญาณ หรือ ทสพลญาณ : พระญาณเป็นกำลังขอพระพุทธเจ้า  ๑๐  ประการ  เรียกตามบาลี  ตถาคต-พลญาณ  (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต)
๑๘.ทุกูล                   : ผ้าอย่างดี  มักใช้ว่า  ผ้าทุกูลพักตร์
๑๙.ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  :  เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป  การหมุนวงล้อธรรม  เป็นชื่อของปฐมเทศนา  คือพระธรรมเทศนาครั้งแรกซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนฤ-คทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี  ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
๒๐.นิโครธาราม      : อารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า  อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์
๒๑.เนรเทศ              : บังคับให้ออกไปจากประเทศหรือถิ่นที่อยู่ของตน
๒๒.บารมี                : คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอันสูงสุด  บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบสมบูรณ์  จึงจะบรรลุโพธิสัตว์  เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐  ประการ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
๒๓.บุตรทารทาน    : การให้ทานโดยการสละบุตรและภรรยา (ทาร)
๒๔.เบญจบุตรนิมิต : ลางบอกเหตุล่วงหน้า  เมื่อเทวดาจะจุติจากสรรค์ลงมาเกิดในโลกมนุษย์  มี ๕  ประการ ได้แก่ ๑. ดอกไม้ประดับวิมานเหี่ยวแห้ง  ๒. เครื่องทรงเศร้าหมอง  ๓. เหงื่ออกทางรักแร้ทั้งสองข้าง                       ๔. ผิวพรรณเศร้าหมอง  ๕. เบื่อหน่ายทิพยอาสน์
๒๕.เบญจวัคคีย์       : ภิกษุจำพวกหนึ่งมี ๕ รูป  ผู้ได้ฟังธรรมเทศนาทีแรก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ     พระวัปปะ  พระภัททิยะ  พระมหานาม และพระอัสสชิ
๒๖.โบกขรพรรษ    : ฝนดุจตกลงใบบัวหรือในกอบัว  เป็นผลที่ตกลงมาในกาละพิเศษ  มีสีแดง  ฝนชนิดนี้มีกล่าวไว้ว่า  ผู้ใดต้องการเปียก ก็เปียก  ผู้ใดต้องการไม่ให้เปียก ก็ไม่เปียกแต่เม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกาย         ดุจหยาดน้ำหล่นบนใบบัว
๒๗.ปฎิสัมภิทา       : ปัญญาแตกฉาน ๕ ประการ
๒๘.ปริโสสาน        : สุดลงโดยรอบ(หมายความว่า ที่สุดหรือจบลงโดยสมบูรณ์แล้ว) , จบ
๒๙.ปิยบุตรทาน      : ให้ลูกรักเป็นทาน
๓๐.พเนจร               : ผู้เที่ยวป่า  พรานป่า  โดยปริยายความหมายว่า  ร่อนเร่ไป  เที่ยวโดยไร้จุดหมาย
๓๑.พระผู้เป็นเจ้า     : พระภิกษุ  พระผู้เป็นใหญ่  เทพผู้สูงสุดที่นับถือว่าเป็นผู้สร้างสรรค์บันดารทุกสิ่ง      ทุกอย่าง
๓๒.ภัทรกัป            : กัปอันเจริญหรือกัปที่ดีแท้
๓๓.ภิกษาจาร          : การเที่ยวขอ , การเที่ยวขออาหาร
๓๔.ยมกปาฏิหาริย์  : ปาฏิหาริย์ที่แสลงเป็นคู่ๆ  เป็นปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำที่ต้นมะม่วงซึ่งเรียกว่า  คัณฑามพพฤกษ์  คือทรงบันดาลท่อน้ำท่อไฟจากส่วนของพระวรกายเป็นคู่ๆ
๓๕.ราชคฤหบุรี      : นครหลวงของแคว้นมคธ  เป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง
๓๖.วัปป                  : การหว่านพืชพิธีวัปปมงคล
๓๗.สมุจเฉทปหาร  : การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริมรรค
๓๘.สังสารวัฏ         : การเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนไหว้ตายเกิด ด้วนอำนาจกิเลส  กรรมและวิบาก
๓๙.สัตตสดกมหาทาน  :   การทำทานครั้งยิ่งใหญ่โดยให้สิ่งของอย่างละ  ๗๐๐ ได้แก่ ช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐   รถ ๗๐๐  สตรี ๗๐๐  โคนม ๗๐๐  ทาสชาย ๗๐๐ และทาสหญิง ๗๐๐
๔๐.สัพพัญญู           : ผู้รู้ธรรมทั้งปวง , ผู้รู้ทั่งทั้งหมด , พระนามของพระพุทธเจ้า
๔๑.สารสิบตระกูล  : ช้าง ๑๐ ตระกูล
๔๒.สุคนธชาติ        :  ของหอม  เครื่องหอม ๑๐ อย่าง
๔๓.อภิญญาณ         : ความรู้ยิ่ง  ในทางพระพุทธศาสนา  มี ๖ อย่าง
๔๔.เฉวียง               :  ซ้าย  เอียง   ตะแคง  ทแยง